ไทยพูดดี เบงกาลีพูดได้ ตอนที่ 1 ภาษาเครือญาติ (ห่าง ๆ)

ไทยพูดดี เบงกาลีพูดได้ ตอนที่ 1 ภาษาเครือญาติ (ห่าง ๆ)

วันที่นำเข้าข้อมูล 14 ม.ค. 2565

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 3,371 view

ไทยพูดดี เบงกาลีพูดได้ ตอนที่ 1 ภาษาเครือญาติ (ห่าง ๆ)

          มีหลายชาติในโลกที่ใช้ภาษาใกล้เคียงกัน อาจจะคล้ายจนพูดกันรู้เรื่อง หรือห่างออกมาหน่อยแต่ยังจับใจความได้ เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า ภาษาไทยกับภาษาเบงกาลีมีความเชื่อมโยงกัน แม้จะไม่ถึงกับสื่อสารกันได้เข้าใจเหมือนภาษาไทยกับภาษาลาว แต่โครงสร้างภาษากับคำศัพท์จำนวนมากถูกต้องตรงกันแน่นอน ถึงจะไม่สามารถนับเป็นญาติใกล้ชิดแต่ก็ถือเป็นญาติที่เกี่ยวดองกันห่าง ๆ

          ในโอกาสที่ไทยและบังกลาเทศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตครบ 50 ปี สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงธากา ขอนำเสนอชุดบทความเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างภาษาเบงกาลีกับภาษาไทย เพื่อบอกเล่าถึงความใกล้ชิดทางวัฒนธรรมระหว่างคนไทยกับคนเบงกาลีผ่านมุมมองทางภาษาเบงกาลีเป็นภาษาประจำชาติของบังกลาเทศที่มีคนใช้งานในชีวิตประจำวันประมาณ 200 ล้านคน ทั้งในบังกลาเทศ รัฐเบงกอลตะวันตกของอินเดีย และชุมชนชาวบังกลาเทศทั่วโลก ภาษาเบงกาลีมีรากฐานมาจากภาษาสันสกฤต ดังนั้น พยัญชนะ สระ และคำศัพท์เกินครึ่งจึงรับจากสันสกฤตมาใช้

          ภาษาไทยของเราก็มีคำยืมจำนวนมากจากบาลีสันสกฤตเช่นกัน ทั้งยังผสมปนเปด้วยอิทธิพลของในทางภาษาศาสตร์ ภาษาเบงกาลีอยู่ในตระกูลอินโดยูโรเปียน และภาษาไทยอยู่ในตระกูล  ไท-กะได แต่ทั้งสองภาษาก็มีลักษณะร่วมกันอยู่บ้าง โดยภาษาเบงกาลียังรักษาความเป็นสันสกฤตไว้มากกว่า คนไทยที่เรียนภาษาเบงกาลีจะพบว่ามีหลายคำใช้ตรงกัน บางคำมีนัยยะต่างกันบ้าง แต่ก็ทำให้เราเข้าใจภาษาไทยมากขึ้นว่าหลายคำมีที่มาอย่างไร

          เบงกาลีมีพยัญชนะ 39 ตัว เรียงลำดับเป็นวรรคตามวิธีการออกเสียง ใครที่เคยเรียนคำบาลีสันสกฤตในวิชาภาษาไทยสมัยเด็กอาจจะพอนึกออก พยัญชนะไทยได้รับเอาระบบนี้มาเต็มตัว และเรียงลำดับตามแบบภาษาบาลีสันสกฤต การเรียงอักษรที่เหมือนกันทำให้จำอักษรเบงกาลีได้ง่าย และทำให้รู้ด้วยว่าพยัญชนะไทยบางตัวที่เราถือเป็นเสียงเดียวกัน เช่น ศ ษ ส หรือ ธ ฑ ฒ ในภาษาต้นฉบับเขาออกเสียงหนักเบาไม่เหมือนกันอย่างไร

          พยัญชนะเบงกาลีหลายตัวมีหน้าตาคล้ายกับพยัญชนะไทย อาจจะเอียงซ้าย เอียงขวา หรือมีเส้นต่างไปบ้าง แต่โดยรวมยังเดาได้อยู่ว่าตรงกับตัวไหน เช่น ก ม ย

          คำแรกที่ควรทำความรู้จักคือคำว่า ภาษา ซึ่งเบงกาลีใช้คำเดียวกันและสะกดแบบเดียวกันด้วยเพราะเขาก็มีพยัญชนะที่เทียบเท่า ภ และ ษ คำนี้มีในภาษามาเลย์และอินโดเช่นกัน แต่เสียงยาวขึ้นกลายเป็น Bahasa ซึ่งไม่ใช่ชื่อภาษา นอกจากนี้ คำว่าพยัญชนะ (byanjana) กับสระ (sbara) ในภาษาเบงกาลียังเรียกเหมือนในภาษาไทย วิธีผสมสระของเบงกาลีก็ไม่ต่างกัน มีสระอา อิ อี อุ อู และมีรูปสระอุ สระอู ที่ไว้ใต้พยัญชนะ

          เหล่านี้เป็นเพียงหนังตัวอย่างของความเกี่ยวดองกันระหว่างภาษาไทยกับภาษาเบงกาลี และตลอดปีนี้สถานเอกอัครราชทูตฯ จะเสาะหาตัวอย่างอื่น ๆ มานำเสนอต่อไป

 

 

188600

เด็กนักเรียนชาวบังกลาเทศในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งชานกรุงธากา

................................................

 

 

 

 

 

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ